Posts

จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์

Image
จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw) ชอว์มีผลงานมากมาย ทั้ง บทละคร นิยาย งานเขียนทางการเมือง บทความวิจารณ์ ฯลฯ เช่น บทละคร Widowers' Houses (1884-1892) The Philanderer (1893) Mrs Warren's Profession (1893) Arms and The Man (1893-1894) Candida (1894) The Man of Destiny (1895) You Never Can Tell (1895-1896) The Devil's Disciple (1896) Caesar and Cleopatra (1898) Captain Brassbound's Conversion (1899) The Admirable Bashville (1901) Man and Superman (1901-1902) ที่มีภาคผนวก Maxims for Revolutionists John Bull's Other Island (1904) How He Lied to Her Husband (1904) Major Barbara (1905) Passion, Poison, and Petrifaction (1905) The Doctor's Dilemma (1906) The Interlude at the Playhouse (1907) Getting Married (1907-1908) The Shewing-Up of Blanco Posnet (1909) Press Cuttings (1909) The Glimpse of Reality (1909) The Fascinating Foundling (1909)(1909) Misalliance (1909) The Dark Lady of the Sonnets

คติพจน์สำหรับนักปฏิวัติ - จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์

Image
เรื่อง Maxims for Revolutionists โดย George Bernard Shaw คติพจน์สำหรับนักปฏิวัติ (Maxims for Revolutionists) เป็นภาคผนวกรวบรวมคำคมแนบท้ายบทละครเรื่อง 'Man and Superman' เพราะเป็นคำคม การแปลจึงยากมากทั้งเรื่องการเล่นคำและความหมายของต้นฉบับ รวมถึงการถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยที่ยากจะให้กระชับและตรงความหมาย โดยมีความลึกซึ้งที่ไม่การเปิดเผยความหมายแฝงเกินไป ถ้ามีข้อแนะนำติชมหรือการแก้ไขก็จะขอขอบคุณมากนะคะ หลักประพฤติ อย่ากระทำกับผู้อื่นเช่นเดียวกันที่ผู้อื่นกระทำต่อท่าน รสนิยมอาจไม่เหมือนกัน อย่าหักห้ามใจ ลองให้หมดแล้วเก็บสิ่งที่ดีเอาไว้ อย่ารักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ถ้าท่านเป็นมิตรที่ดีกับตัวเองก็คือการขาดความเคารพ ถ้าไม่ดีจะเกิดการบาดเจ็บ หลักการประพฤติคือไม่มีหลักการประพฤติ การเคารพบูชา ศิลปะของการปกครองคือการจัดตั้งการเคารพบูชา ระบบราชการเกิดจากเจ้าหน้าที่ ชนชั้นสูงเกิดจากคนที่ถูกเคารพ ประชาธิปไตยเกิดจากผู้ที่เคารพ ประชาชนไม่สามารถเข้าใจระบบราชการ ประชาชนทำได้เพียงสักการะรูปบูชาแห่งชาติ อนารยชนโค้งคำนับรูปบูชาที่ทำจากไม้หรือศิลา อารยชนโค้งคำนับรูปบูชา

Augustus Does His Bit

Image
เรื่อง Augustus Does His Bit โดย George Bernard Shaw บทละครเรื่องนี้ได้ถูกจัดแสดงครั้งแรกที่ The Court Theatre ในลอนดอนเมื่อวันที่ 21 มกราคม 1917 โดยใช้เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่งตอนนั้นเป็นฉากหลัง ในสำนักงานเมืองลิตเติ้ลพิฟฟลิงตัน ที่ห้องรับรองของนายกเทศมนตรี ลอร์ดออกัสตัส ไฮคาสเซิล สมาชิกผู้โดดเด่นในชนชั้นปกครอง แต่งกายด้วยเรื่องแบบพันเอก สภาพดูดีสำหรับคนอายุสี่สิบห้าปี กำลังนั่งอ่านหนังสือพิมพ์มอร์นิ่งโพสที่โต๊ะเขียนหนังสือโดยเอาเท้าพาดไว้บนโต๊ะ ตรงข้ามห้องมีประตูเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย ด้านหลังมีหน้าต่าง ในเตาผิงมีเตาแก๊ส บนโต๊ะมีกระดิ่งและโทรศัพท์ มีภาพวาดของนายกเทศมนตรีคนก่อนๆ ประดับผนัง เสมียนอายุมากที่ไว้เคราสั้นสีขาว จมูกแดง เดินลากเท้าเข้ามา ออกัสตัส  [รีบวางหนังสือพิมพ์แล้วเอาเท้าวางบนพื้น] ฮุลโหล แกเป็นใครกัน? เสมียน  เจ้าหน้าที่ขอรับ [มีความบกพร่องในการพูด สร้างความรู้สึกว่าไม่มีความสามารถจากอายุและรูปพรรณสัณฐาน] ออกัสตัส เจ้าหน้าที่! หมายความว่าอย่างไรกัน บอกมานะ? เสมียน อย่างที่กระผมเรียนให้ทราบแล้ว ไม่มีคนอื่นขอรับ ออกัสตัส ชิ! คนอื่นอยู่ไหนกันล่ะ? เส